วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ซอฟต์แวร์ปาร์คทุ่ม 10 ล้านเนรมิตงานซอฟต์แวร์ระดับชาติ

ซอฟต์แวร์ปาร์ค จับมือพันธมิตร 6 สมาคมไอที ทุ่ม 10 ล้านบาท จัดงาน Bangkok Software Summit 2010 หรือ BSS 2010) หวังช่วยผู้ประกอบการไทยและเทศเปิดตลากซอฟต์แวร์ นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์พาร์ค ได้ทำการปรับโฉมงาน “ซอฟต์แวร์ ปาร์ค แอนนวล คอนเฟอร์เร็นซ์” (Software Park Annual Conference) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยงานดังกล่าวเป็นการรวมเอาผู้ประกอบซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในระดับประเทศ มาจัดเป็นงาน “แบงคอก ซอฟต์แวร์ ซัมมิท 2010 หรือ บีเอสเอส 2010” (Bangkok Software Summit 2010 หรือ BSS 2010)
ภายใต้แนวคิด ‘ซอฟต์แวร์ : สร้างคุณค่าอย่างไร้ขีดจำกัด’ เพื่อจุดมุ่งหมายยกระดับงานด้านซอฟต์แวร์และไอทีของไทย สู่ระดับภูมิภาค ซึ่งได้พันธมิตรระดับนานาชาติเข้าร่วมด้วย คือ แอสโซซิโอ (Asocio) และ ซอฟต์แวร์ พาร์ค อัลลิแอนซ์ (Software Park Alliance)
เข้ามาเปิดตลาด นอกจากนี้ในงานยังจัดโชว์มาตรฐานของซอฟต์แวร์ไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ซึ่งบริษัท ซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ ของไทยทั้งหมด จะมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการจับคู่ทางธุรกิจ ทั้งในแง่ของซื้อขาย และพันธมิตรทางธุรกิจพร้อมทั้งจัดให้มีการสัมมนาให้ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งซอฟต์แวร์เครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ มีกิจกรรมด้าน อี-กัฟเวิร์นเม้นท์ (E-Government) แสดงศักยภาพของซอฟต์แวร์ในภูมิภาค รวมถึงการประกาศรางวัล ‘ฮอลล์ ออฟ เฟรม’ เพื่อเชิดชูองค์กรอันทรงคุณค่า ที่มีผลงานโดดเด่น และตอบแทนสังคม พร้อมนำเสนอผลงานของผู้ผ่านรางวัล ‘ไทยแลนด์ ไอซีที อวอร์ด’ (ทิคต้า) อย่างไรก็ดีซอฟต์แวร์ พาร์คได้ร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (เอทีซีไอ) และ พันธมิตรอีก 6 สมาคม ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ได้แก่ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย (TACGA) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) และสมาคมอีเลิร์นนิ่งแห่งประเทศไทย ด้านนายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกสมาคมเอทีซีไอ กล่าวว่า ถึงไอที เอ็กซ์โป จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่สมาคมมยังคงมุ่งส่งเสริมกิจกรรมด้านไอทีต่อเนื่อง จึงได้จัดงานนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งไทยและต่างชาติ สามารถสร้างเครือข่าย เพิ่มโอกาสการจับคู่ทางธุรกิจ โดยตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยยังเล็กอยู่ หากเทียบกับสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน สามารถเติบโตได้อีกมาก ภายในงานนี้ ยังได้มีการจัดสัมมนาเรื่อง การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจ ‘นิว บิสิเนส โมเดล’(New Business Model) ที่มีความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น ด้านการขนส่งเอกสาร การติดต่อกับธนาคาร เป็นต้น ทางเอทีซีไอคาดหวังว่าจะมีความร่วมมือต่อเนื่องกันไปอีก 3 ปี ส่วนนาวาตรีวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ ได้ กล่าวระหว่างการเสวนาเรื่อง “ซอฟต์แวร์: สร้างคุณค่าอย่างไร้ขีดจำกัด” ว่า เครื่องมือด้านไอที มีการเปลี่ยนแปลงไป เกิดการหลอมรวมเข้าหากันมากขึ้น ปัจจุบันความต้องการซอฟต์แวร์ได้กระจายตัวลงไปในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม แม้แต่ภาคเกษตร เพื่อพัฒนาธุรกิจ ในยุคต่อไปกำลังก้าวเข้าสู่ โซเชี่ยล คอมพิวติ้ง ซึ่งการประมวลผลอยู่ในระดับบุคคล แค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ก็สามารถทำได้เกือบทุกอย่าง credit : http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000060037

1 ความคิดเห็น:

  1. ส่งงาน
    นางสาวเยาวลักษณ์ แก้วสุวรรณ์
    เลขที่ 28 ชั้น ม. 4/3
    ชื่อเว็บ http// kaesuwan blogstop.com

    ตอบลบ